วันอังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การปลูกรองเท้านารี

การปลูกรองเท้านารีนิยมปลูกในกระถางดินเผาหรืกระถางพลาสติคก็ได้ ปกติรองเท้านารีต้องการความชื้นสูงแต่ไม่ชอบแฉะซึ่งต้องพิจารณาสายพันธุ์ด้วยว่าปกติเวลาสายพันธุ์นั้นอยู่ในธรรมชาติอาศัยอยู่อย่างไร
การเจริญเติบโตของรองเท้านารีแบ่งได้ 2 ประเภทคือ
1.ขึ้นอยู่ตามหน้าผาและซอกหิน ซึ่งมีใบไม้และอินทรีย์สารผุพังทับถมอยู่ บางชนิดขึ้นอยู่กับหินปูน
2.ขึ้นอยู่ตามกิ่งไม้ใหญ่หรือเปลือกไม้ รองเท้านารีจำพวกนี้เป็นพวกรากอากาศ
เครื่องปลูกของรองเท้านารี ในส่วนเครื่องปลูกของรองเท้านารีนั้นมีส่วนสำคัญเป็นอย่างมากในการปลูก เนื่องจากผู้ปลูกรองเท้านารีใหม่หากไม่ได้ศึกษาถึงนิสัยของรองเท้านารีสายพันธุ์นั้นๆแล้ว ส่วนมากจะเลี้ยงไม้รอดสักราย เครื่องปลูกที่นิยมใช้ก็มีเช่น อิฐมอญ เปลือกถั่วลิสง หินเกล็ด หินภูเขาไฟ โฟมเม็ด ดินขุยไผ่ ซึ่งแต่ละชนิดก็ใช้เครื่องปลูกต่างกัน ดังนั้นลองศึกษาหาความรู้แล้วนำมาปรับเปลี่ยนให้เข้ากับวิธีเลี้ยงของแต่ละท่านนะครับ

รองเท้านารีสุขะกุล

ค้นพบเมื่อปี พ.ศ.2507 ถิ่นกำเนิดอยู่แถบจังหวัดเลยบนยอดภูหลวง กล้วยไม้พันธุ์นี้มีลักษณะเด่น คือ มีลักษณะคล้ายคลึงกับรองเท้านารีคางกบ แต่มีรายละเอียดส่วนต่างๆ ที่แตกต่างกัน ได้แก่ พื้นกลีบสีเขียวมีจุดสีม่วงประปรายทั่วกลีบ ปลายกลีบดอกแหลม พื้นกลีบมีสีทางสีเขียวถี่ๆ ลายทางจากโคนดอกวิ่งไปรวมที่ปลายกลีบ กลีบในกางเหยียด ขอบกลีบมีขนเช่นเดียวกับบริเวณโคนดอก

รองเท้านารีฝาหอย

ค้นพบเมื่อปี พ.ศ.2431 ถิ่นกำเนิดอยู่ตามหุบเขาในเขตพม่าต่อชายแดนไทยตอนเหนือแถบจังหวัดลำพูน และเขตอำเภอเชียงดาว ภาคใต้ เช่น หมู่เกาะอ่างทอง และเกาะช้างในจังหวัดพังงา เป็นต้น ลักษณะเด่นของกล้วยไม้พันธุ์นี้ คือ ใบใหญ่ปลายมน ใบลายสีเขียวแก่และเขียวอ่อนใต้ท้องใบสีม่วงแดง ก้านดอกสั้นมีขน กลีบดอกนอกกว้างมนกลมปลายกลีบคุ้มลงด้านหน้า กลีบในทั้งสองกว้างมนรูปไข่ คุ้มออกด้านหน้า กลีบนอกและกลีบในเกยกันทำให้แลดูลักษณะดอกกลมแน่น กลีบดอกสีขาวนวล ประจุดสีม่วงจากโคนกลีบ กระเปาะมนกลมคล้ายฟองไข่นก Plover (ซึ่งเป็นที่มาของรองเท้านารีฝาหอยที่

วันอังคารที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

เอื้องสร้อยทอง, มังกรทอง

รองเท้านารีช่องอ่างทอง

รองเท้านารีช่องอ่างทอง ชื่อไทยของรองเท้านารีชนิดนี้ ได้จากชื่อแหล่งกำเนิดแห่งหนึ่งในทะเลบริเวณอ่าวไทย คือ หมู่เกาะช่องอ่างทอง ในเขต จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีลักษณะต้นและใบคล้ายกันกับรองเท้านารีขาวสตูลมากยกเว้นแต่ว่าต้นและใบของ แต่ละต้นในกลุ่ม เดียวกัน มีความหลากหลายของลักษณะที่เห็นได้กว้างขวางมาก เช่น สีใบ จุดที่กระจายอยู่ในดอกของแต่ละต้น ก็มีความแตกต่างหลากหลาย จนกระทั้งทำให้เกิดการสันนิษฐานว่า น่าจะเป็นลูกผสมธรรมชาติระหว่างรองเท้านารีขาวสตูลกับฝาหอย นำมาปลูกเลี้ยงได้ง่าย และให้ ดอกง่ายในสภาพแวดล้อมของกรุงเทพฯ แต่ไม่สู้จะทนทานต่อโรค ไส้เดือนฝอย ชนิดที่เข้าไปอาศัยในใบและทำลายทำให้ เกิดเน่าทั้งกอเมื่อเจริญเป็นกอใหญ่ๆ ผู้เขียนไม่คิดว่าการควบคุมปัญหานี้ โดยใช้สารเคมีจะเป็นสิ่งควรสนับสนุน หากคิดว่าแม้ใน ธรรมชาติก็สามารถอยู่ได้ น่าจะมีวิธีการบนพื้นฐาน ธรรมชาติที่สามารถแก้ไขได้ ซึ่งกำลังศึกษาค้นคว้าต่อไปอีก เช่นอาจขาดธาตุบางอย่าง ซึ่งมีอยู่ในธรรมชาติที่ช่วยให้พันธุ์ไม้ สามารถต้านทานศัตรูนี้ได้ดี แหล่งกำเนิดหาใช่มีเฉพาะในบริเวณหมู่เกาะช่องอ่างทอง เท่านั้น พบตามภูเขาหินปูนตั้งแต่เขตจังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ ลงไปทางใต้ มีความหลากหลายในลักษณะรายละเอียดด้วย ทำให้กล้วยไม้รองเท้านารีชนิดนี้น่าสนใจและรู้สึกท้าทาย ต่อการนำมาปลูกเลี้ยงและศึกษา รวมทั้งใช้ประโยชน์บนความหลากหลายอย่างลักษณะดอก

กล้วยไม้นางตายตัวผู้

นางตายตัวผู้... เป็นเอื้องดินครับลักษณะจะมีหัวเล็กๆดูคล้ายกับมันฝรั่งฝังตัวอยู่ใต้ดิน มีช่อดอกเป็นแบบกระจะ ภายในช่อมีดอกจำนวนหลายดอก ดอกสีขาวส่วนกลีบเลี้ยงจะเป็นสีน้ำตาล ขนาดของดอกประมาณ 0.5 ซม.ครับ ออกดอกช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน...

วันอังคารที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2554

รองเท้านารี ม่วงสงขลา

•"รองเท้านารี" กล้วยไม้ชนิดนี้ จัดอยู่ในสกุล Paphiopedilum หมายความถึง เทพธิดาผู้เลอโฉม หรือเทพธิดาวีนัส หรือ รองเท้าแสนสวยของเทพธิดาวีนัส ซึ่งถอดความมาจากคำภาษาอังกฤษว่า Lady's slipper หากลองสังเกตดอกอย่างพินิจพิเคราะจะเห็นว่ารูปลักษณ์อันแปลกตานั้นคล้ายคลึงกับรองเท้าแตะหรือปลายรองเท ้าไม้ของสุภาพสตรีชาวเนเธอร์แลนด์ย่งนัก ใคร ๆ จึงเรียกสั้นๆ ว่า กล้วยไม้รองเท้านารี มีชื่อเรียกอื่นๆ อีกหลายชื่อ เช่น รองเท้านาง รองเท้าแตะนารี หรือ บุหงากะสุต ในภาษามาเลเซีย อันหมายถึงรองเท้าของสตรี เนื่องจากกลีบดอก หรือที่เรียกว่า "กระเป๋า" มีรูปร่างคล้ายกับรองเท้าของสตรีแลรองเท้าไม้ของชาวเนเธอแลนด์ กระเป๋าของรองเท้านารีมีรูปร่างลักณะและสีสรรแตกต่างกันไปตามชนิดพันุ์

กล้วยไม้สกุลนี้มีแหล่งกำเนิดอยู่ในเขตอบอุ่น และเขตร้อนแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่อินเดีย ฟิลิปปินส์ พม่า มาเลเซีย และในประเทศไทย มักขึ้นตามพื้นดิน ซอกหินตามหน้าผา หรือบางชนิดเป็นกล้วยไม้อิงอาศัย ในประเทศไทยมีการสำรวจพบ 14 ชนิด แต่ละชนิดมีความงามแตกต่างกัน รวมทั้งมีการปรับปรุงและคัดสายพันธ์กันอย่างแพร่หลายด้วย และเป็น 1 ใน 1131 ชนิดพันธุ์ไม้ที่ใกล้สูญพันธุ์