วันอังคารที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
รองเท้านารีช่องอ่างทอง
รองเท้านารีช่องอ่างทอง ชื่อไทยของรองเท้านารีชนิดนี้ ได้จากชื่อแหล่งกำเนิดแห่งหนึ่งในทะเลบริเวณอ่าวไทย คือ หมู่เกาะช่องอ่างทอง ในเขต จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีลักษณะต้นและใบคล้ายกันกับรองเท้านารีขาวสตูลมากยกเว้นแต่ว่าต้นและใบของ แต่ละต้นในกลุ่ม เดียวกัน มีความหลากหลายของลักษณะที่เห็นได้กว้างขวางมาก เช่น สีใบ จุดที่กระจายอยู่ในดอกของแต่ละต้น ก็มีความแตกต่างหลากหลาย จนกระทั้งทำให้เกิดการสันนิษฐานว่า น่าจะเป็นลูกผสมธรรมชาติระหว่างรองเท้านารีขาวสตูลกับฝาหอย นำมาปลูกเลี้ยงได้ง่าย และให้ ดอกง่ายในสภาพแวดล้อมของกรุงเทพฯ แต่ไม่สู้จะทนทานต่อโรค ไส้เดือนฝอย ชนิดที่เข้าไปอาศัยในใบและทำลายทำให้ เกิดเน่าทั้งกอเมื่อเจริญเป็นกอใหญ่ๆ ผู้เขียนไม่คิดว่าการควบคุมปัญหานี้ โดยใช้สารเคมีจะเป็นสิ่งควรสนับสนุน หากคิดว่าแม้ใน ธรรมชาติก็สามารถอยู่ได้ น่าจะมีวิธีการบนพื้นฐาน ธรรมชาติที่สามารถแก้ไขได้ ซึ่งกำลังศึกษาค้นคว้าต่อไปอีก เช่นอาจขาดธาตุบางอย่าง ซึ่งมีอยู่ในธรรมชาติที่ช่วยให้พันธุ์ไม้ สามารถต้านทานศัตรูนี้ได้ดี แหล่งกำเนิดหาใช่มีเฉพาะในบริเวณหมู่เกาะช่องอ่างทอง เท่านั้น พบตามภูเขาหินปูนตั้งแต่เขตจังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ ลงไปทางใต้ มีความหลากหลายในลักษณะรายละเอียดด้วย ทำให้กล้วยไม้รองเท้านารีชนิดนี้น่าสนใจและรู้สึกท้าทาย ต่อการนำมาปลูกเลี้ยงและศึกษา รวมทั้งใช้ประโยชน์บนความหลากหลายอย่างลักษณะดอก
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
รองเท้านารี ช่องอ่างทองเป็นไม้ที่เลี้ยงง่าย สามารถเลี้ยงออกดอกได้สบายๆในทั่วทุกภาคของประเทศไทย
ตอบลบเน้อหาดี
ตอบลบรูปเท่นะ
ตอบลบเนื้อหาน้อยไปหน่อย
ตอบลบ